SP Asset Corperation Co.,Ltd.

SP Asset เป็นหนึ่งในบริษัทก่อสร้างและ ออกแบบตกแต่งภายในที่มีทีมงานออกแบบและทีมช่าง คุณภาพเป็นของตัวเองให้บริการดูแลลูกค้าตั้งแต่ งานออกแบบภายใน , งานออกแบบภายนอก , งานรีโนเวท , งานรับเหมาตกแต่งภายในงานบิวอินเฟอร์นิเจอร์ , งานก่อสร้าง , งานจัดหาเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว , จัดหาและจัดวางของตกแต่งบ้าน , ดูแลงานผ้าม่าน เพื่อให้ลูกค้าสะดวกในที่เดียว

CONTACT INFO
  • Address: เลขที่ 510 ซอย รัชดาภิเษก 28 แขวง สามเสนนอก เขต ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
  • Phone: 02-091-5995 , 090-052-2222
  • Email: spasset.th@gmail.com

ข่าวสารและกิจกรรม

บ้านปลอดภัย กับระบบบ้านอัจฉริยะ โฮม ออโตเมชั่น

ขอบคุณรูปจาก : https://www.makingdifferent.com/how-to-make-the-most-of-iot-at-home/

เชื่อว่าหลายๆท่านคงได้ยินคำว่า สมาร์ท โฮม หรือ โฮม ออโตเมชั่น หรือให้ทันสมัยสุดๆก็ต้องเป็น IoT (Internet of Things) มากขึ้น บ่อยขึ้นเรื่อยๆ แล้วเทคโนโลยีที่ว่านี้มันคืออะไร? 

    โฮม ออโตเมชั่น (Home Automation) คือ ระบบที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้านแบบอัตโนมัติ โดยที่ผู้อยู่อาศัยไม่ต้องทำด้วยตัวเองช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถควบคุมกิจกรรม งาน เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นภายในบ้าน ทั้งที่ต้องทำประจำทุกๆวัน (Routine) หรือ ปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้ใช้ (Event)เพื่อเพิ่มความสะดวก สบาย ความปลอดภัย ช่วยลดเวลาอันมีค่าที่ต้องเสียไป และ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่จ่ายค่าไฟน้อยลง

    โดยระบบดังกล่าวจะอาศัยการสื่อสารกันระหว่างตัวควบคุมของอุปกรณ์ไฟฟ้าและตัวควบคุมหลัก (ควบคุมแบบรวมศูนย์ Centralized Control) อาจะไม่ซับซ้อน เช่นการสั่งเปิดปิด ตั้งเวลาเปิดปิดของอุปกรณ์ไฟฟ้าทีละชิ้นๆ โดยผู้ใช้งานเป็นผู้สั่งใช้งานเอง หรือ อาจจะเป็นระบบที่ซับซ้อนและอัตโนมัติมากขึ้น (Smart Home, Internet of Things

    โดยจะมีผู้ให้บริการในส่วนนี้บน Cloud เช่น บริษัทอย่าง IFTTT, PUSH) เช่น มีการเรียกข้อมูลต่างๆจาก Internet, ข้อมูลจากอุปกรณ์อื่นๆที่ต่างชนิดกัน และ ทำการประมวลผลแล้วสั่งการให้อุปกรณ์หลายๆชนิดทำงานร่วมกันได้ เช่น ตรวจสอบเวลา สภาพอากาศ รวมถึงตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้งาน เพื่อทำการ เปิดปิดไฟ ปลดล๊อกประตู เปิดปิดม่านไฟฟ้าปรับอุณหภูมิให้ตรงกับที่ผู้ใช้งานคนนั้นๆชอบ ปล่อยและให้อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

    เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีความสะดวก สบาย ปลอดภัยที่สุด เมื่อกลับถึงบ้าน เราสามารถตั้งค่าการใช้งาน สั่งงาน ดูสถานะ ตรวจสอบเหตุการณ์ต่างๆ รับข้อความเตือนภัย ทางจอควบคุมหลักหรือ อุปกรณ์พกพาได้อย่าง แท็บเล็ต หรือ สมาร์ทโฟนได้อีกด้วย

ระบบสำคัญๆที่ระบบ โฮม ออโตเมชั่น สามารถควบคุมได้ เช่น
ระบบไฟส่องสว่าง

  • เปิด ปิด ตามเวลา, อาศัยเซ็นเซอร์วัดแสง, ตรวจจับพบความเคลื่อนไหว
  • เปิด ปิด ผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟน, อินเตอร์เนต
  • ปรับเพิ่มลดระดับแสง ตามเหตุการณ์ ช่วงเวลาต่างๆ 
  • เปลี่ยนสีอัตโนมัติเพือแจ้งเตือนเหตุ

ระบบปรับอากาศ Heating, Ventilation, Air Conditioning (HVAC)

  • ตรวจวัดและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมแบบอัตโนมัติผ่านอินเตอร์เน็ต
  • การเปิดแอร์ ฮัทเตอร์ หน้าต่าง พัดลม ม่าน เพื่อลดหรือเพิ่มอุณหภูมิ
  • ตรวจวัดความชื้น ก๊าซมีพิษ คาร์บอนมอนอกไซด์

เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน 

  • เปิด ปิด ตามเวลา
  • เปิด ปิด ผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟน, อินเตอร์เนต
  • ตรวจสอบสถานะการทำงาน
  • คำนวนค่าไฟ

ระบบรักษาความปลอดภัย

  • ระบบปลดล๊อกประตูจากสมาร์ทโฟน วีดีโอดอร์โฟน
  • ระบบกันขโมย กล้องวงจรปิด ไซเร็น แจ้งตำรวจ
  • เซ็นเซอร์ประตู หน้าต่าง
  • เซ็นเซอร์ควันไฟ สั่นสะเทือน ไฟไหม้ 
  • ปุ่มแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน

ความบันเทิง

  • โฮมเทียเตอร์
  • ระบบเสียงรอบบ้าน
  • เปลี่ยนแสงสีตามความต้องการของผู้ใช้

ระบบทำความสะอาด

  • เครื่องซักผ้า อบผ้า เครื่องล้างจาน
  • เครื่องดูดฝุ่นอัจฉริยะ

รดน้ำต้นไม้ สวน

  • ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเปิดระบบ
  • วัดปริมาณน้ำฝนที่ตกก่อนเริ่มทำงาน
  • เปิด ปิด วาล์ว ปั๊ม อัตโนมัติ
  • คำนวนค่าน้ำ

ระบบปล่อยและให้อาหารสัตว์เลี้ยง

  • เปิดประตูเข้าออกสำหรับสัตว์เลี้ยง
  • ให้อาหารตามเวลา

ส่วนประกอบของระบบ โฮม ออโตเมชั่น

  • ตัวควบคุมหลัก อาจเป็น พีซี (Personal Computer) หรือ อุปกรณ์ทำงานเฉพาะด้าน (Appliance)
  • เซ็นเซอร์ เช่น วัดอุณหภูมิ การเคลื่อไหว ระดับแสง ก๊าซพิษ กันน้ำท่วม ความชื้น สถานะเปิดปิด จำนวนผู้อยู่อาศัย
  • แอ๊กทูเอเตอร์ เช่น สวิตช์ไฟ มอเตอร์ วาล์วปั๊ม ตัวควบคุมอินฟราเรด
  • ชนิดของการสื่อสาร เช่น ระบบเดินสาย  ระบบไร้สาย หรือ รวมกัน

เทคโนโลยีของการสื่อสาร

  • X10 เป็นยุคแรกๆเมื่อราวๆ 40 กว่าปีที่แล้ว แต่ก่อนมีแต่ระบบที่ต้องเดินสายสัญญาณ แต่ปัจจุบันมีแบบไร้สายแล้ว แต่ไม่ดีเท่าเทคโนโลยีไร้สายแบบใหม่ๆ
  • Z-Wave เริ่มต้นมาประมาณ 8 ปี เป็นเทคโนโลยีแบบไร้สายที่ถูกออกแบบมาสำหรับระบบ โฮม ออโตเมชั่น โดยเฉพาะ และยอมที่จะให้อุปกรณ์ต่างๆที่ต่างยี่ห้อ

          สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้ แต่ต้องขึ้นกับ Compatibility List ของผู้ผลิตนั้นๆด้วย จุดเด่นอีกจุดหนึ่งคือ กินไฟน้อยมาก และการรับส่งสัญญาณเป็นแบบ Mesh Architecture

          ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.z-wave.com  เจ้าของ Z-Wave คือ Z-Wave Alliance   http://z-wave.sigmadesigns.com/.

  • Zigbee คล้ายๆกับ Z-Wave, ZigBee เป็นเทคโนโลยีแบบไร้สายที่ถูกออกแบบมาสำหรับระบบ โฮม ออโตเมชั่น โดยเฉพาะเช่นกัน ผู้ที่พัฒนาก็คือ Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) นั่นเอง

          เราคงคุ้นๆกับองค์กรนี้เพราะเป็นองค์กรเดียวกันกับที่พัฒนาอุปกรณ์ Computer, Network Devices ต่างๆที่เราใช้กันอยู่ กลุ่มพันธมิตรก็คือ The ZigBee Alliance คือกลุ่มผู้พัฒนา

          ZigBee Protocol ประกอบด้วย กลุ่มภาคธุรกิจ มหาวิทยาลัย และ รัฐบาล ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.zigbee.org   อีกข้อหนึ่งที่แตกต่างจาก Z-Wave ก็คือการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆที่ต่างยี่ห้อกัน

          อาจจะไม่สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้ โดย Compatibilityนั้นจะขึ้นกับเจ้าของผู้ผลิตแบรนด์นั้นๆโดยเฉพาะ  ระบบกินไฟน้อยมาก และการรับส่งสัญญาณเป็นแบบ Mesh Architecture เช่นเดียวกัน

  • Wi-Fi เทคโนโลยีนี้ทุกท่านน่าจะคุ้นเคยกับมันมากที่สุดเพราะใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังใหม่ถ้าเทียบกับการใช้งานในระบบโฮม ออโตเมชั่น ทำให้ข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป เช่น

          ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อเกทเวย์ หรือ ฮับ ถ้ามีการใช้งาน Wi-Fi เร้าท์เตอร์อยู่แล้ว  Wi-Fi มี Bandwidth สูง แต่ต้องระวัง เพราะถ้ามีการใช้ Computer, Smart Phone, Tablet ร่วมกันจำนวนมาก จะทำให้

          ระบบโฮม ออโตเมชั่นทำงานช้าหรือตอบสนองได้ไม่ดีเนื่องจากการแชร์กันของ Bandwidth นั่นเอง  ข้อเสียคือกินไฟมาก และ มีความร้อนเกิดขึ้นสูงกว่า

ปัจจัยที่ทำให้ โฮม ออโตเมชั่น เป็นที่แพร่หลายในต่างประเทศ และเพิ่มขึ้นทั่วโลก

  • ผู้ผลิตระบบโฮม ออโตเมชั่นเพิ่มมากขึ้น หลากหลาย และ ราคาจับต้องได้
  • ผู้ให้บริการ Cloud Based Services สำหรับโฮม ออโตเมชั่นมีเพิ่มมากขึ้น
  • เทคโนโลยีไร้สาย ZigBee, Z-Wave เป็นที่ยอมรับ และ เสถียรมากขึ้น
  • ระบบโฮม ออโตเมชั่น ไม่ใช่แค่ระบบปิดที่ต้องสั่งงานจากภายในบ้านอีกต่อไป 
  • ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ความสำคัญและเพิ่มความสามารถในการสื่อสาร IoT

 

ขอบคุณที่มา:

http://www.avasmarthome.com/